เมนู

ด้วยคาถาแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมงคล 3 มงคลเท่านั้นคือ
การอยู่ในปฏิรูปเทส 1 การกระทำบุญไว้ในปางก่อน 1 การตั้งตนไว้ชอบ 1
ดังพรรณนามาฉะนี้ ก็ความที่แห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้า
อธิบายให้แจ่มแจ้งแล้วในมงคลนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้แล.
จบการพรรณนาเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า
ปฏิรูปเทสวาโส จ ดังนี้เป็นต้น

คาถาที่ 3

(มี 4 มงคล)
บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบอธิบายในมงคลข้อว่า พาหุสจฺจญฺจ เป็นต้นนี้
ดังต่อไปนี้.
ความเป็นผู้ได้สดับมาก ชื่อว่า พาหุสจฺจํ.
ความเป็นผู้ฉลาดในหัตถกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งชื่อว่า สิปฺปํ (ศิลปะ)
การฝึกกายวาจาและจิต ชื่อว่า วินโย (วินัย)
บทว่า สุสิกฺขิโต ได้แก่ ศึกษาแล้วด้วยดี.
บทว่า สุภาสิตา ได้แก่ กล่าวแล้วด้วยดี.
บทว่า ยา เป็นการแสดงถึงคำที่ไม่แน่นอน.
คำที่เปล่ง คำที่เป็นทาง ชื่อว่า วาจา.
คำที่เหลือ มีนัยดังข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล นี้คือการพรรณนาเฉพาะ
บทในพระคาถานี้ ส่วนการพรรณนาเนื้อความ ผู้ศึกษาพึงทราบดังนี้.
ที่ชื่อว่า พาหุสจฺจํ ได้แก่ การทรงไว้ซึ่งคำสอนของพระศาสดา ที่
ท่านพรรณนาไว้ โดยนัยว่า ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมไว้ซึ่งสุตะ

ดังนี้เป็นต้น และโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้สดับมาก คือทรงไว้ซึ่งสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ เป็นต้น พาหุสัจจะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ละอกุศลธรรม และ
บรรลุกุศลธรรม และเพราะเป็นเหตุทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ โดยลำดับ.
สมจริงดังคำ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสาวกได้สดับ
แล้วแล ย่อมละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละธรรมที่มีโทษ บำเพ็ญธรรมที่ไม่มี
โทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์อยู่ ดังนี้เป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แม้อื่นอื่นกว่า ภิกษุย่อมเข้าไปเพ่ง ซึ่งเนื้อ-
ความแห่งธรรมทั้งหลายที่ตนทรงไว้แล้ว เมื่อเธอเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่งเนื้อความ
ธรรมย่อมทนต่อการเพ่งพินิจ เมื่อมีการอดทนต่อการเพ่งพินิจธรรมอยู่
ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้ที่เกิดความพอใจ ย่อมอุตสาหะ เมื่ออุตสาหะ ย่อม
ไตร่ตรอง เมื่อไตร่ตรอง ย่อมเพียรพยายาม เมื่อเพียรพยายาม ก็ย่อมทำให้แจ้ง
ซึ่งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.
อีกอย่างหนึ่ง แม้พาหุสัจจะของฆราวาส ที่ไม่มีโทษ พึงทราบว่า เป็น
มงคล เพราะนำประโยชน์สุขในโลกทั้งสองมาให้.
ชื่อว่า ศิลปะ (มี 2 ชนิด) คือ อาคาริยศิลปะ และอนาคาริยศิลปะ
ในศิลปะทั้งสองอย่างนั้น อาคาริยศิลปะ ได้แก่ การงานที่เว้นจากการเบียด-
เป็นสัตว์อื่น เว้นจากอกุศล มีการงานของนายช่างแก้ว และนายช่างทอง
เป็นต้น อาคาริยศิลปะนั้น ชื่อว่า เป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์ใน
โลกนี้ (ส่วน) การจัดทำสมณบริขารมีการจัดแจงและการเย็บจีวรเป็นต้น

ชื่อว่า อนาคาริยศิลปะ ศิลปะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพรรณนาไว้ใน
ที่นั้น ๆ โดยนัยว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ขยัน ในกิจที่ควร
กระทำทั้งน้อยและใหญ่ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น (และ) ที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า นี่คือธรรมอันทำที่พึ่ง ดังนี้ พึงทราบว่า เป็น
มงคล เพราะนำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขในโลกทั้ง 2 มาให้ตนและชน
เหล่าอื่น.
ที่ชื่อว่า วินย มี 2 อย่าง คือ อาคาริยวินัย 1 อนาคาริยวินัย 1
ในสองอย่างนั้น การเว้นอกุศลกรรมบถ 10 ชื่อว่า อาคาริยวินัย. วินัยนั้น
ชื่อว่า อันบุคคลศึกษาดีแล้ว ด้วยการไม่ต้องโทษ คือสังกิเลสในวินัยนั้น
และด้วยการกำหนดคุณแห่งความประพฤติ ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่ง
ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขในโลกทั้งสอง.
ส่วนการไม่ต้องอาบัติ 7 กอง ชื่อว่า อนาคาริยวินัย แม้อนาคา-
ริยวินัยนั้น ชื่อว่า อันภิกษุศึกษาดีแล้ว โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล. อีก
อย่างหนึ่ง ปาริสุทธิศีล 4 ชื่อว่า อนาคาริยวินัย. อนาคาริยวินัยนั้น อันภิกษุ
ศึกษาอยู่ โดยประการที่ตนดำรงอยู่ในอนาคาริยวินัยนั้นแล้ว บรรลุพระอรหัต
ชื่อว่าศึกษาดีแล้ว พึงทราบว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้บรรลุโลกิยสุขและ
โลกุตรสุข.
วาจาที่เว้นจากโทษมีมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่า วาจาสุภาษิต สมดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย วาจาที่ประกอบด้วยองค์ 4 เป็น
วาจาสุภาษิต ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง วาจาที่ไม่เพ้อเจ้อ ก็ชื่อว่า วาจาสุภาษิต
เหมือนกัน เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

สัตบุรุษทั้งหลายกล่าววาจาสุภาษิตว่า
เป็นวาจาสูงสุด เป็นที่หนึ่ง บุคคลพึงกล่าว
วาจาอันเป็นธรรม ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่
เป็นธรรมนั้น เป็นที่สอง พึงกล่าววาจาเป็น
ที่รัก ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รักนั้น
เป็นที่สาม พึงกล่าววาจาจริง ไม่พึงกล่าว
วาจาเหลาะแหละนั้น เป็นที่สี่
ดังนี้.
แม้วาจาสุภาษิตธรรมนี้ พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์
เกื้อกูลและความสุขในโลกทั้งสอง. ก็เพราะเหตุที่วาจาสุภาษิตนี้นับเนื่องอยู่ใน
วินัยอยู่แล้วนี้เอง ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่สงเคราะห์วาจาสุภาษิตนี้ด้วย
วินัยศัพท์ สงเคราะห์แต่วินัย (เท่านั้น ด้วยวินัยศัพท์)
อีกอย่างหนึ่ง จะมีประโยชน์อะไรด้วยความลำบากนี้ วาจาเป็นเครื่อง
แสดงพระธรรมแก่คนเหล่าอื่น ก็พึงทราบว่า เป็นวาจาสุภาษิต ในที่นี้ จริงอยู่
วาจาสุภาษิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นปัจจัยให้
สัตว์ทั้งหลายได้บรรลุประโยชน์เกื้อกูล และความสุขในโลกทั้งสอง และพระ-
นิพพาน ท่านกล่าวไว้ว่า
พระพุทธเจ้าตรัสวาจาใด อันเกษม
เพื่อบรรลุพระนิพพาน เพื่อกระทำที่สุดทุกข์
วาจานั้นแล สูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย.

ด้วยพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล 4 ประการคือ ความ
เป็นพหูสูต (พาหุสัจจะ) 1 ศิลปะ 1 วินัยที่ศึกษาดีแล้ว 1 วาจาสุภาษิต 1
1. สุภาสิตสูตร สัง. สคาถา. 15/ข้อ 739.

ด้วยประการฉะนี้ ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านั้น เป็นมงคล ข้าพเจ้าได้อธิบาย
ให้แจ่มแจ้ง ในมงคลนั้น ๆ แล้ว ดังนี้แล.
การพรรณนาความแห่งพระคาถานี้ว่า
พาหุสจฺจญฺจ เป็นต้น จบ

คาถาที่ 4

(มี 4 มงคล)
บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในบาทคาถานี้ว่า มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ
ดังนี้เป็นต้น ดังต่อไปนี้.
มารดาด้วย บิดาด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มาตาปิตุ มารดา
และบิดา.
การบำรุง ชื่อว่า อุปฏฺฐานํ.
บุตรทั้งหลายด้วย ภรรยาทั้งหลายด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ปุตฺตทารสฺส ซึ่งบุตรและภรรยา.
การสงเคราะห์ ชื่อว่า สงฺคโห.
การงานทั้งหลาย เป็นการงานที่อากูลหามิได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนากุลา.
การงานทั้งหลายนั้นเอง ชื่อว่า กมฺมนฺตา.
คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล. นี้คือการพรรณนาเฉพาะ
บท ส่วนการพรรณนาเนื้อความ ผู้ศึกษาพึงทราบดังต่อไปนี้.
สตรีผู้ให้เกิด ท่านเรียกว่า มารดา, บิดาก็เหมือนกัน.
การกระทำอุปการะด้วยการล้างเท้า การนวด การอบ การอาบน้ำ
และการให้ปัจจัย 4 ชื่อว่า อุปัฏฐานะ การบำรุง.